เมนู

เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็
กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวด-
อ้างว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และ
พูดเช่นนั้นเหมือนกัน.

[573] เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ (ทิฏฐิล่วง
แก่นสาร) เป็นผู้เมาด้วยความถือตัวเต็มรอบ อภิเษกตน
เองด้วยใจ เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น.


ทิฏฐิ 62 เรียกอติสารทิฏฐิ


[574] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ ความ
ว่า ทิฏฐิ 62 ประการ เรียกว่า อติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร ทิฏฐิ 62
ประการ จึงเรียกว่า อติสารทิฏฐิ ทิฏฐิทั้งปวงนั้น ล่วงเหตุ ล่วงลักษณะ
ถึงความเป็นของต่ำช้า เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิ 62 ประการ จึงเรียกว่า
อติสารทิฏฐิ เดียรถีย์แม้ทั้งหมดเป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร เดียรถีย์
แม้ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เดียรถีย์เหล่านั้น ล่วง ก้าวล่วง
ล่วงเลยกันและกัน ยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้
บังเกิดเฉพาะ เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ.
คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์ ความว่า เป็นผู้บริบูรณ์เต็มรอบ ไม่
บกพร่องด้วยอติสารทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยอติสารทิฏฐิ.